หน่วยที่ 3

หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การ ที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อ สารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อ และช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี  สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่ เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
-
การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมายในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนดังนั้นหากการสื่อความหมาย หรือการสอนประสบความสำเร็จ เราย่อมสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่ต้น จากตัวผู้เรียนได้ตามลักษณะการเรียนรู้นั้น ๆ
ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้าง ความเข้าใจร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียน จึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เรื่องนี้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียม และเลือกสรร ในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางใน การนำนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสรรประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุดอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้ นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอน นั่นเอง
  ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรูแนวความคิด
เหตุการณฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือชองทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชนหรือสถาบันเพื่อให้ผู้รับทราบข่าวสาร่วมกัน
การสื่อความหมาย จำแนกเป็น 3 ลักษณะ
1. วิธีการของการสื่อความหมายวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาพูดอวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือการเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภาพ
2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. ประเภทของการสื่อความหมายการสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือการสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSNการสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรมการสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)
 ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1
วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2
วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2.
สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.
สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
- เพื่อแจ้งให้ทราบ(information)
- เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
- เพื่อสร้างความพอใจหรือให้   ความบันเทิง
- เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
 ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมายในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนดังนั้นหากการสื่อความหมาย หรือการสอนประสบความสำเร็จ เราย่อมสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่ต้น จากตัวผู้เรียนได้ตามลักษณะการเรียนรู้นั้น ๆปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้าง ความเข้าใจร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียน จึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เรื่องนี้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียม และเลือกสรร ในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางใน การนำนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสรรประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุดอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้ นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอน นั่นเอง
  การเรียนรู้
• การเรียนรู้หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวคิดและพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการไดรับประสบการณซึ่งควรเป็นการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น