หน่วยที่ 10

หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน


แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน
หน่วยการเรยนรู้ที่ 10
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การ จัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้ มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่า จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การ จัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับ ขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็น นวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอ เสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัต กรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำ ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แนวโน้มใน ด้านบวก  
 การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 
การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 
แนวโน้มใน ด้านลบ  
 ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  
 ระบบปัญญาประดิษฐ์  
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์  
ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่
 
 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 
โครงข่าย ประสาทเทียม (Artificial Neural Network) 
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)  
ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)  
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 
          ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์ เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character) คำ (Word) ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics)  
โครงข่ายประสาทเทียม (
Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล  

เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา
  
          ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด 
จุดเด่นของยูบิควิตัส ได้แก่  
 การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ 
การ สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่  
การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ  
สารสนเทศ กับการศึกษา  
             เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  
             Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง  
บริการของ
Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ  
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต
  
              นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9 หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร  
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ
1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้  
  ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี 
วัสดุ ฉลาด (Smart materials) 
ตัวรับรู้ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors) 
โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน (Nanoscale Biostructures) 
คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม  
คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ 
 รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์
           รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย  
ที่มารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2 ปี ดังนี้  
1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ  
การ ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ 
การให้ บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น 4 ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา  
 2.การบริหารจัดการของรัฐ 
 การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ 
การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม  
การ บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ  
 3.การติดต่อสื่อสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ 
 ภายในและระหว่าง กระทรวง 
ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น  
 ตัวอย่างของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 
             การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี 3 ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS (Criminals Database Operating System) (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) และ (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching Outfit) 
 ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต  
การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th มีบริการ 2 แบบ คือ 1. การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ และ 2. การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต  
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล  
ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th  และ www.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง  
 เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่
               ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่ (ICT) จะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เนตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปฏิวัติวิธีที่จะสื่อสารความรู้ ผ่านอีเมลล์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ สื่อสารได้ในอาณาบริเวณที่กว้างขึ้น วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกมุมของโลก จนทำให้ความรู้กลายเป็นทรัพยากรที่เคลื่อนที่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เนต และไม่ได้ติดอยู่กับสถานศึกษาและท้องถิ่นอีกต่อไป ทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรม ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะต่างๆ มากยิ่งขึ้น ความเข้มข้นของเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นจะถูกตีความจากความร่วมมือของเครือข่าย และก่อให้เกิดสถาบันในท้องถิ่นต่างๆ ที่จะทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้ ต้องการทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การช่วยเหลือด้านเทคนิค การฝึกอบรม และการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าแนวโน้มราคาในการเข้าถึงจะต่ำลงเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีราคาในภาพรวมสูง ซึ่งจะส่งผลต่อบางประเทศและสถาบันการศึกษาที่ขาดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น อินเตอร์เนตพื้นฐาน ความเร็วอินเตอร์เนต ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ในทางกลับกัน ประเทศที่มีปัจจัยด้านเทคโนโลยี ICT ที่เอื้อก็จะช่วยยกระดับความสามารถการแข่งขันมากขึ้นด้วย
การก่อตัวของเครือข่ายความรู้ระดับนานาชาติ
           จากกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทาง ICT ทำให้การตอบสนองจากความต้องการของตลาดโลกหลังยุคอุตสาหกรรม เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของอุตสาหกรรมการบริการและเศรษฐกิจฐานความรู้ ภาครัฐในหลายประเทศจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการลงทุนด้านการศึกษา ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านการศึกษา พร้อมทั้งปรับนโยบายเรื่องวีซ่า หลักเกณท์เข้าประเทศที่จะช่วยชักจูงนักศึกษาเข้าสู่สถาบันและประเทศ ซึ่งประเทศก็ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของนักศึกษา ทำให้นักศึกษา ผู้ปกครองกลายสภาพเป็นลูกค้า เกิดการแข่งขันของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยที่สูงขึ้น แต่ละสถาบันจึงต้องพยายามสร้างความเป็นนานาชาติให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบัน โดยการสร้างโครงการพิเศษและหลักสูตรต่างๆ เพื่อตอบสนองการต้องการ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากแนวโน้มของการเคลื่อนที่ของนักศึกษา โดยปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 2.5 ล้านคนที่กำลังเรียนอยู่นอกประเทศบ้านเกิดและคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 7 ล้านคนในปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากเอเชียที่เข้าสู่มหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำของอเมริกาเหนือ ยุโรป และ ออสเตเรียที่มีชื่อเสียง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันเหล่านี้ พยายามที่จะสร้างเครือข่าย แฟรนไชส์ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ของโลกเพื่อยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ต้องการของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ผ่านรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญา ทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ๆ ในท้องถิ่น และนำมาชึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งความรู้และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง อาจารย์ที่เดินทางอย่างเสรีมากขึ้น หรือทำผ่านเครือข่ายและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งในเรื่องเครือข่ายความรู้ก็ไม่ได้จำกัดวงอยู่ในภาคการศึกษาเท่านั้น ความร่วมมือด้านวิชาการก็เริ่มเกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างแรงงานที่มีทักษะตามที่ต้องการ เช่น กรณีที่ภาคธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความร่วมมือในการผลิตบัณทิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีมากขึ้น และตรงความต้องการ เพราะสัดส่วนของผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความต้องการมากขึ้นในตลาดโลก เพราะมีผลทางตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในหลายพื้นที่ขาดนักศึกษาด้านนี้ (เช่น จีนมีนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37 % เกาหลี 39 % สิงคโปร์ 31 อินโด 26 ญี่ปุ่น 23 % ส่วนไทย 19 %)
แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านของความร่วมมือระดับโลกนั้น ภายในแต่ละภูมิภาคก็พยายามที่จะสร้างบทบาทนำด้านการศึกษา ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ กาตาร์ สิงค์โปร์ และสหรัฐอาหรับเอมมิเรตท์ ภาครัฐและมหาวิทยาลัยมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hubs) ด้านการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น